เทศบาลเมืองสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว : www.sakaeocity.go.th

 
 
อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของเทศบาลเมืองสระแก้ว ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัติฉบับนี้เรียกว่า พระราชบัญญัติเทศบาล พ.. ๒๔๙๖
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๖ และบรรดากฎหมาย กฎ ข้อบังคับอื่นๆในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ เมื่อพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะท้องถิ่นใดเป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครแล้ว ห้ามมิให้ใช้กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ในส่วนที่บัญญัติถึงการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน ในท้องถิ่นนั้น และให้บรรดาบุคคลที่เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน พ้นจากตำแหน่งและหน้าที่เฉพาะในเขตท้องถิ่นนั้นด้วย
          ในเขตเทศบาลตำบลใด ถ้าหมดความจำเป็นที่จะต้องมีตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หรือสารวัตรกำนัน ให้รัฐมนตรีประกาศยกเลิกตำแหน่งดังกล่าวในราชการกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕ ให้เทศบาลที่ได้จัดตั้งขึ้นแล้วในวันใช้พระราชบัญญัตินี้ คงมีฐานะเป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ตามที่เป็นอยู่ แล้วแต่กรณีมีอำนาจหน้าที่และอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๓ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้
          () กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐
          () ให้มีน้ำสะอาดหรือน้ำประปา
          () ให้มีโรงฆ่าสัตว์
          () ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
          () ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
          () ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
          () ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
          () ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
มาตรา ๕๔ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมืองอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้
          () ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
          () ให้มีสุสานและฌาปณสถาน
          () บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
          () ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
          () ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
          () ให้มีการสาธารณูปโภค
          () จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
          () จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
          () ให้มีและบำรุงสถานที่สาหรับหารกีฬาและพลศึกษา
          (๑๐) ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
          (๑๑) ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
          (๑๒) เทศพาณิชย์

อำนาจหน้าที่ของเทศบาลเมืองสระแก้ว ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่าพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. ๒๕๔๒
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับใดๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
          “คณะกรรมการหมายความว่า คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
            กรรมการหมายความว่า กรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          “รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๖ ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
          () การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
          () การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
          () การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
          () การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
          () การสาธารณูปการ
          () การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
          () การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
          () การส่งเสริมการท่องเที่ยว
          () การจัดการศึกษา
          (๑๐) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
          (๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
          (๑๒) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
          (๑๓) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
          (๑๔) การส่งเสริมกีฬา
          (๑๕) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
          (๑๖) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
          (๑๗) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
          (๑๘) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
          (๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
          (๒๐) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
          (๒๑) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
          (๒๒) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
          (๒๓) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
          (๒๔) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          (๒๕) การผังเมือง
          (๒๖) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
          (๒๗) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
          (๒๘) การควบคุมอาคาร
          (๒๙) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
          (๓๐)  การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
มาตรา ๑๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๖ ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
          () การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
          () การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
          () การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
          () การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
          () การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          () การจัดการศึกษา
          () การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
          () การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
          () การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
          (๑๐) การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม
          (๑๑) การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม
          (๑๒) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ
          (๑๓) การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ
          (๑๔) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
          (๑๕) การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ
          (๑๖) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
          (๑๗) การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง
          (๑๘) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
          (๑๙) การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
          (๒๐) การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ
          (๒๑) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร
          (๒๒) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
          (๒๓) การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด
          (๒๔) จัดทำกิจการใดอันเป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขต และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
          (๒๕) สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนา ท้องถิ่น
          (๒๖) การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
          (๒๗) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
          (๒๘) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
          (๒๙) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด